ขยะอิเล็กทรอนิกส์ วิกฤติโลกยุคมิลเลนเนียล
- Gig
- Sep 18, 2019
- 1 min read

รายงานของสหประชาชาติ ระบุว่า โลกผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์ 48.5 ล้านตันในปี 2018 หมายความว่าถ้านำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่นสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้านเรือนที่ถูกทิ้งเป็นขยะทั่วโลกในแต่ละปีมากองรวมกัน จะมีน้ำหนักเท่ากับตึกเอมไพร์สเตทในนครนิวยอร์ก 133 ตึก หรือหนักกว่าเครื่องบินพาณิชย์ทุกลำในโลกรวมกันทั้งหมด !! 😳😳 ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกทิ้งเหล่านี้มีวัสดุมีค่าอย่างทองคำ, ทองแดง ดีบุกและเหล็ก รวมไปถึงแร่หายากเช่นโคลแทน ทังสเตน คิดเป็นมูลค่ากว่า 6.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จากข้อมูลในปี 2016 หรือกว่า 1.9 ล้านล้านบาทที่ต้องกลายเป็นขยะ!! ซึ่งมากกว่าจีดีพีของ 123 ประเทศเสียอีก ในจำนวนนี้คือทองคำมูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท ทองแดงกว่า 4 แสนล้านบาท!! 😳😳 รายได้ที่เพิ่มขึ้นของคนรุ่นใหม่ ประกอบกับสินค้าเทคโนโลยีที่แพร่หลาย ราคาถูกลง และล้าสมัยอย่างรวดเร็ว ไม่คุ้มค่าที่จะซ่อมแซม ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อยมาก ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์จัดเป็นขยะที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดและกลายเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมไปถึงสุขภาพของมนุษย์ การศึกษาของสหประชาชาติพบว่ามีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล และถ้าหากแนวโน้มการบริโภคยังเป็นเช่นนี้คาดว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มเป็น 120 ล้านตันต่อปีหรือเกือบสามเท่าของปัจจุบันภายในปี 2050 โดยอุปกรณ์ขนาดเล็กส่วนตัวเช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แทบเล็ต โทรทัศน์ คิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด การเปิดพื้นที่ทิ้งขยะจำพวกอุปกรณ์ที่มีสารตะกั่ว ปรอท การเผาขยะเพื่อสกัดเอาทองแดงและการจัดการขยะหลังบ้านที่ไม่ปลอดภัยเพื่อสกัดเอาโลหะมีค่ากลายเป็นปัญหาที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของคนงาน คนในชุมชนใกล้เคียง เช่น การทำลายระบบประสาท ภาวะไม่เจริญพันธุ์ มีบุตรยาก พัฒนาการเด็กไม่สมบูรณ์ การทำงานของปอดบกพร่อง ตับและไตเสียหาย รวมถึงพันธุกรรมและปัญหาสุขภาพจิตด้วย ทางออกที่สำคัญที่สุดคือการคัดแยกและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้อง ซึ่งหากจัดการได้ดีจะทำให้เกิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน" สามารถนำวัสดุและส่วนประกอบต่าง ๆ กลับไปใช้งานได้ใหม่ และทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นศูนย์ พร้อมกับการสร้างงานที่ปลอดภัยให้กับคนหลายล้านคนทั่วโลก เราทุกคนสามารถช่วยได้ด้วยการคัดแยกขยะ E Waste ใกล้ตัวเราอย่างโทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่สำรอง สายชาร์จที่ไม่รู้จะเอาไปทิ้งที่ไหน เชื่อไหมว่าปัจจุบันมีซากโทรศัพท์มือถือเกิดขึ้นในประเทศไทยกว่า 12 ล้านเครื่องในแต่ละปีซึ่งนับว่ามีจำนวนมากที่สุดในบรรดาขยะอิเล็กทรอนิกส์ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ AIS กำลังทำโครงการ “ทิ้งEWasteกับAIS” เปิดจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์พวกนี้ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่ดี โดยมั่นใจได้ว่าขยะดังกล่าวจะถูกจัดการอย่างเหมาะสม และจะมีการคัดแยกวัสดุที่สามารถรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่อาทิ เหล็ก เงิน ทอง และแร่มีค่าอื่นๆ ซึ่งเท่ากับช่วยลดการพึ่งพาวัตถุดิบใหม่ซึ่งร่อยหรอลงไปทุกวัน นอกจากนี้ในเว็บไซต์ยังคำนวณให้เห็นด้วยว่าขยะที่เรานำมาทิ้งที่จุดคัดแยกช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปเท่าไหร่ เท่ากับว่าช่วยแก้ปัญหาขยะพิษและสภาวะโลกร้อนไปในคราวเดียวกัน 👏👏👏
ดูชื่อสาขา AIS Shop ที่รับทิ้ง E Waste และรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ www.ewastethailand.com
#ทิ้งEWasteกับAIS #ถ้าเราทุกคนคือเครือข่าย #ภัยร้ายEWaste #ReReef #Advertorial
Comments