top of page

ขยะพลาสติกปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาเมื่อแตกตัว

  • Writer: Gig
    Gig
  • Nov 12, 2018
  • 1 min read

Sarah-Jeanne Royer shows plastics from the ocean at Kamilo Point, Hawaii. (Photo credit: Olivier Poirion)

ภาพ Dr Sarah-Jeanne Royer แห่งมหาวิทยาฮาวาย กับขยะพลาสติกทะเลที่แตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ Kamilo Poiont ฮาวาย (Photo credit: Olivier Poirion)

ขยะพลาสติกเมื่อรั่วไหลขออกสู่สภาพแวดล้อมนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศทั้งทางบกและทางทะเลแล้ว งานวิจัยล่าสุดพบว่าพลาสติกเหล่านี้เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีกด้วยเพราะปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดรุนแรงออกมาเมื่อมันแตกตัว

เราทราบดีว่าอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ปริมาณมหาศาล แต่งานวิจัยชิ้นใหม่โดย Dr Sarah-Jeanne Royer นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Plos One ฉบับพิเศษว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับสุขภาวะ พบว่า พลาสติกที่กลายเป็นขยะจะปล่อยก๊าซมีเธนและเอทิลีนออกมาเมื่อถูกแสงแดดและเริ่มแตกตัว ก๊าซมีเธนป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความรุนแรงกว่าคาร์บอนไดอ็อกไซด์ถึง 30 เท่า

พลาสติกที่พบว่าเป็นปัญหาที่สุดคือ LDPE (low-density polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกที่พบได้ทั่วไปในอุปกรณ์สารพัดรูปแบบ แต่ตัวที่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นปัญหามากที่สุดคงหนีไม่พ้นพลาสติกแบบใช้ครั้งแดียวทิ้ง (Single-use Plastic) เช่น ถุงพลาสติก ช้อนส้อมพลาสติก และภาชนะบรรจุอาหารแบบต่างๆ พลาสติกเหล่านี้ใช้งานเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็กลายเป็นขยะที่ส่งต่อไปยังพื้นที่ฝังกลบขยะ (landfill)

“LDPE เป็นพลาสติกที่ผลิตออกมามากที่สุด ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายและก็ถูกทิ้งในสภาพแวดล้อมจำนวนมาก ที่ฮาวายซึ่งเป็นพื้นที่วิจัยก็พบขยะแบบนี้ได้เป็นประจำ สิ่งที่น่าวิตกก็คือขยะพลาสติกพวกนี้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆทุกที" Sarah-Jeanne กล่าว

ขยะพลาสติกตามหลุมฝังกลบต่างๆ จึงเป็นเหมือนกับรถยนต์ที่สตาร์ทรถติดเครื่องทิ้งไว้ แล้วก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาตลอดเวลา ยิ่งขยะเพิ่มมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งสร้างก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเท่านั้น งานวิจัยชิ้นนี้ยังพบด้วยว่าขยะยิ่งแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย มีพื้นที่ผิวเพิ่มขึ้น การปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

"เราใช้พลาสติกกันมากเกินไป ซึ่งความจริงเดี๋ยวนี้มีทางเลือกมากมายในการลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง" Sarah กล่าวทิ้งท้าย

ลำพังการทิ้งขยะให้ลงถังจึงไม่เพียงพออีกต่อไป แต่ต้องเน้นการลดการใช้พลาสติกที่ไม่จำเป็นลงให้มากที่สุด และมีระบบคัดแยกที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำพลาสติกที่รีไซเคิลได้กลับมาผลิตใหม่ แทนที่จะกลายเป็นขยะอยู่ที่หลุมฝังกลบ และสร้างก๊าซเรือนกระจกต่อไปเรื่อยๆ

อ้างอิง:

Royer S-J, Ferrón S, Wilson ST, Karl DM (2018) Production of methane and ethylene from plastic in the environment. PLoS ONE 13(8): e0200574.

https://doi.org/10.1371/journal.pone.0200574

Comentários


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square

©2017 BY REREEF.co

bottom of page