top of page

U.S. Virgin Islands ผ่านกฎหมายห้ามขายห้ามใช้ครีมกันแดดที่เป็นอันตรายต่อปะการัง

  • admin
  • Jul 18, 2019
  • 1 min read

UCF Associate Professor John Fauth and a team of international researchers in 2015 published a study that showed the ingredient oxybenzone disrupted coral reproduction and caused bleaching.

ข่าวใหญ่เมื่อปลายเดือนที่แล้วคือหมู่เกาะ U.S. Virgin Islands ในทะเลคาริบเบียนมีมติผ่านกฎหมายห้ามใช้ครีมกันแดดแบบเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการัง ตามรอยรัฐฮาวาย ประเทศปาเลา เริ่มต้นห้ามนำเข้ากันยายนปีนี้ และห้ามจำหน่ายเดือนมีนาคม ปีหน้า นับว่าเป็นพื้นที่แรกๆในโลกที่จะมีผลบังคับใช้ในทางกฎหมาย

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ฝ่ายนิติบัญญัติของหมู่เกาะ U.S. Virgin Islands ได้ผ่านกฎหมายใหม่ด้วยเสียเป็นเอกฉันท์ในการห้ามจำหน่ายครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ oxybenzone, Octocrylene และ Octinoxate ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในครีมกันแดดส่วนใหญ่ เป็นที่น่าสังเกตว่าในรายชื่อของสารเคมี มี Octocrylene เพิ่มขึ้นมาด้วยซึ่งเป็นสารที่พบได้ในครีมกันแดดจำนวนมากที่จำหน่ายในประเทศไทย

โดยจะเริ่มมีผลห้ามนำเข้าครีมกันแดดที่มีสารเคมีดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 30 กันยายนที่จะถึงนี้ และห้ามจำหน่าย ห้ามใช้ ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2020

Craig Downs ผู้อำนวยการ Haereticus Environmental Laboratory นักวิจัยผู้ตีพิมพ์ผลงานที่มีการอ้างอิงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับผลกระทบของสารเคมีสามชนิด กล่าวว่า การออกกฎหมายห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายในครีมกันแดดเหล่านี้เป็นสิ่งที่ภาครัฐสามารถทำได้เลยในการช่วยปกป้องระบบนิเวศแนวปะการัง ภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งต่อปะการังคือคุณภาพน้ำ ซึ่งสารเคมีในครีมกันแดดเป็นตัวการหนึ่งที่เราพบแล้วว่ามีผลเสียต่อปะการังและสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยตรง

งานวิจัยเมื่อปี 2016 ของ Craig Downs และคณะ พบว่าสารเคมีเช่น Oxybenzone เป็นอันตรายต่อปะการังและทำให้ปะการังมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยลง ซึ่งงานชิ้นนี้มีส่วนสนับสนุนให้รัฐบาลมีมาตรการควบคุมการปนเปื้อนของครีมกันแดดอย่างจริงจัง

มีการประมาณว่าแต่ละปีมีครีมกันแดดมากถึง 6,000-14,000 ตันถูกชะล้างลงสู่ทะเลทุกปี อย่างไรก็ตามภัยคุกคามจากปรากฎการณ์ฟอกขาวและภาวะทะเลเป็นกรดถือว่ามีความรุนแรงยิ่งกว่า

“แน่นอนว่าการห้ามใช้ครีมกันแดดเคมีเหล่านี้ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าเราจะสามารถฟื้นฟูสุขภาพปะการัง แต่มันเป็นหนึ่งในชุดครื่องมือที่เราต้องใช้ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการัง” Tali Vardi นักวิจัยปะการังและผู้ประสานงาน Coral Restoration Consortium ให้ความเห็น

“รัฐบาลต้องจริงจังเรื่องการแก้ปัญหาโลกร้อน แต่เรื่องครีมกันแดดก็เป็นสิ่งที่ทุกคนช่วยได้”

The beach at Trunk Bay in Virgin Islands National Park, where researchers have detected sunscreen contamination. Image by Kaitlin Kovacs, USGS

Craig Downs อธิบายต่อว่าสารเคมีที่เป็นพิษเหล่านี้ส่งผลให้ปะการังฟอกขาวในอุณหภูมิที่ต่ำลง ทำลาย DNA และยังรบกวนพัฒนาการของปะการังวัยอ่อน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพปะการังในระยะยาว

“มลภาวะจากครีมกันแดดอยู่ในสภาพแวดล้อมเป็นเวลานาน และมีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ซึ่งเป็นการซ้ำเติมปะการังรุ่นใหม่ที่พยายามจะฟื้นตัวจากความเสียหายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปะการังฟอกขาว หรือพายุ ผลกระทบจะยิ่งรุนแรงและชัดเจนในพื้นที่ทางทะเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม

นอกจากผลกระทบต่อปะการังแล้ว นักวิจัยยังพบว่า สารเคมีในครีมกันแดดมีผลต่อ การขยายพันธุ์ในปลา ยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่าย ทำให้ตัวอ่อนหอยกาบ หอยเม่นเติบโตผิดรูป นอกจากนี้ยังพบสะสมในเนื้อเยื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นโลมาอีกด้วย

นักวิทยาศาสตร์เตรียมติดตามระดับการปนเปื้อนสารเคมีเมื่อกฎหมายดังกล่าวถูกบังคับใช้ และริเริ่มโครงการฟื้นฟูปะการังที่เหมาะสมต่อไป

อ้างอิง


Comments


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square

©2017 BY REREEF.co

bottom of page